วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

สหภาพแรงงาน


สหภาพแรงงาน คือ 
      
             สหภาพแรงงาน คือ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยคนงาน เป็นอิสระจากอำนาจของรัฐบาล นายจ้าง และมีการบริหารตามระบอบประชาธิปไตยที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดและควบคุมนโยบายต่างๆ

วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งสหภาพแรงงาน มีดังนี้
  1. คุ้มครอง แสวงหาผลประโยชน์ของลูกจ้างทุกคนที่เป็นสมาชิกในเรื่องเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ ความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการทำงาน รวมไปถึงหลักประกันความมั่นคงตลอดทั้งชีวิตและอนาคตของครอบครัว
  1. มีสิทธิและส่วนร่วมในการบริหารกิจการร่วมกับนายจ้างในการปรับปรุงวิธีทำงานให้ดีขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนงาน รวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่ดีในด้านที่อยู่อาศัยในสังคมอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและสหภาพแรงงาน โดยยึดหลักของความเป็นอิสระ และความเสมอภาคอย่างแท้จริง
  1. มีส่วนร่วมในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนจัดตั้งศูนย์เด็กเล็ก สนามเด็กเล่น สวัสดิการร้านค้าสหกรณ์ออมทรัพย์ พัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม
  1. มีสิทธิและส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ ทั้งเป็นผู้มีสิทธิไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งไปเป็นผู้แทนของผู้ใช้แรงงาน ในการตรากฎหมายต่างๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงานทุกคน สหภาพแรงงานช่วยพัฒนาชุมชนในรูปกิจกรรมชุมชน
ลักษณะสำคัญของสหภาพแรงงาน
  1. สหภาพแรงงานคือ องค์กรทางชนชั้น สหภาพแรงงาน คือ องค์กรของคนงาน โดยคนงาน และเพื่อคนงาน
  1. สหภาพแรงงาน คือ องค์กรเพื่อการต่อสู้
  1. สหภาพแรงงาน คือ องค์กรที่ทำให้ความมุ่งหวังและความปรารถนาของชนชั้นกรรมาชีพเป็นความจริง หมายถึงว่า องค์กรสหภาพแรงงานจะทำงานเพื่อตอบสนองความมุ่งหวังและสิทธิประโยชน์ของคนงาน
  1. สหภาพแรงงาน คือ องค์กรมวลชน สหภาพแรงงานเป็นองค์กรของคนงานพื้นฐานและคนงานการผลิต คนงานเหล่านี้มีโอกาสที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างมากที่สุด ซึ่งสหภาพแรงงานเป็นองค์กรที่รวมคนงานไว้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางเพศ อายุ ภูมิลำเนา สังคมดั้งเดิม พื้นเพทางการศึกษา และศาสนา
หน้าที่ของสหภาพแรงงาน
          สหภาพแรงงานจะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อความกินดีอยู่ดี ความมั่นคงและก้าวหน้าของคนงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่สหภาพแรงงานจะต้องมีหน้าที่และดำเนินกิจกรรมตามหน้าที่อย่างเคร่งครัดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์

สหภาพแรงงานมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
  1. เป็นศูนย์รวมพลังความสามัคคีของคนงาน โดยพยายามประสานให้คนงานทุกคนเข้าร่วมเป็นสมาชิก และให้โอกาสสมาชิกทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสหภาพแรงงานอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการบริหารงานแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
  1. ให้คำปรึกษาหารือกับสมาชิกหรือคนงานทั่วไปที่ต้องการคำแนะนำ และให้ความช่วยเหลือสมาชิกอย่างจริงจัง ในเรื่องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
  1. รับเรื่องร้องทุกข์เมื่อสมาชิกมาร้องเรียน กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการทำงาน เงื่อนไขการจ้างที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง หรือกฎหมายแล้วแต่กรณี
  1. ทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกจ้างในสถานประกอบการในการเจรจาต่อรองกับฝ่ายนายจ้าง ตั้งแต่ระดับโรงงานถึงระดับชาติ กรณีเป็นกรรมการไตรภาคีระดับชาติ ต้องถือว่าเป็นตัวแทนของคนงานทุกคนที่ต้องทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองคนงานอย่างเต็มที่
  1. ร่วมกับสหภาพแรงงานต่างๆที่รวมตัวกันเป็นขบวนแรงงาน เพื่อเคลื่อนไหวผลักดันเรียกร้องต่อรัฐบาล ให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านแรงงาน เพื่อคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ผลักดันการประกันสังคม กองทุนประกันการว่างงาน ผลักดันกฎหมายสถาบันคุ้มครองสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ และกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้อำนาจต่อรองกับสหภาพแรงงาน
  1. เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อความสมานฉันท์กับขบวนการแรงงานทั่วโลก ภายใต้ปรัชญาความเชื่อที่ว่า คนงาน คือพี่น้องกัน เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับนายทุนระดับโลก ให้เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจต่างๆขององค์การค้าโลก ธนาคารโลกที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต ความมั่นคงในการทำงานของคนงานทั่วโลก
  1. สหภาพแรงงานต้องจัดให้มีการศึกษาเสริมทักษะ ความรู้ด้านอาชีพ ฝีมือแรงงาน และความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงขั้นสูงสุด
  1. ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกมีบทบาทและส่วนร่วมทางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ เพื่อให้มีตัวแทนขบวนการแรงงานในการบริหารประเทศและการตรากฎหมายต่างๆที่จะคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ให้กับคนงานทุกคนอย่างยุติธรรม
  1. สร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกันบนพื้นฐานของความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สหภาพแรงงาน ตามระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มีสหภาพแรงงานอยู่เพียง 2 ประเภท คือ
  • สหภาพแรงงานที่จัดตั้งขึ้นในบริษัทเดียว หรือกิจการเดียว โดยสมาชิกเป็นลูกจ้างคนงานนายจ้างหรือสถานประกอบการเดียวกัน โดยที่สหภาพแรงงานประเภทนี้จะต้องมีลูกจ้างอย่างน้อย 10 คนที่ลงทะเบียนเข้าสังกัดเป็นสมาชิก
  • สหภาพแรงงานที่จัดตั้งตามสายอุตสาหกรรม โดยจะต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 10 คนที่ทำงานในสายอุตสาหกรรมเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างต่างบริษัทกัน หรือต่างสถานประกอบการ หรือต่างนายจ้างกันได้
          นอกจากนี้สหภาพแรงงานในบริษัทเดียวกัน หรือในกิจการเดียว อาจจำแนกได้เป็นสองระดับ ดังต่อไปนี้
  1. สหภาพแรงงานระดับพนักงานลูกจ้างธรรมดา คือ สหภาพแรงงานที่มีสมาชิกจากลูกจ้างชั้นธรรมดาที่ไม่มีอำนาจในการจ้าง การลดค่าจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จหรือการลงโทษ
  1. สหภาพแรงงานระดับผู้บังคับบัญชา คือ สหภาพแรงงานที่มีสมาชิกมาจากลูกจ้างที่มีอำนาจในการจ้าง การลดค่าจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการลงโทษซึ่งลูกจ้างชั้นผู้บังคับบัญชาจะร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเดียวกับลูกจ้างธรรมดาไม่ได้
          สหพันธ์แรงงาน คือ องค์กรที่ประกอบด้วยองค์กรสมาชิกอย่างน้อยสององค์กรสหภาพแรงงาน และต้องขึ้นทะเบียนกับนายทะเบียนของกระทรวงฯ ในปัจจุบันมีสหภาพแรงงานที่ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการอยู่ 19 แห่ง แต่มีสหพันธ์แรงงานไม่ถึง 10 แห่งที่ดำเนินกิจกรรมด้านแรงงานอย่างแข็งขันจริงจัง

          สภาองค์การลูกจ้าง คือ องค์กรแรงงานระดับชาติ หรือเป็นศูนย์กิจกรรมแรงงานระดับชาติที่จดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมายกับทางราชการ โดยมีองค์กรสมาชิกไม่ต่ำกว่า 15 องค์กรซึ่งอาจเป็นสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์ก็ได้ ในปัจจุบันมีสภาแรงงานที่จดทะเบียนอยู่ 9 แห่ง

          คณะกรรมการลูกจ้าง เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นโดยลูกจ้างด้วยความสมัครใจของตนเองในสถานที่ทำงานของตน เพื่อการหารือร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง คณะกรรมการลูกจ้างใช้ระบบทวิภาคีที่จัดตั้งขึ้นในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างไม่ต่ำว่า 50 คนในที่เดียวกัน

          กลุ่มสหภาพแรงงานย่านต่างๆ เป็นองค์กรซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของสหภาพแรงงานที่ทำการภายในพื้นที่เดียวกัน หรือใกล้เคียวกัน เป็นลักษณะการรวมตัวอย่างไม่เป็นทางการ อาจจะเป็นการจัดประชุมร่วมกัน หรือมีการจัดกิจกรรมการศึกษาร่วมกัน
ที่มา : แผ่นพับ “ทำไมต้องมีสหภาพแรงงาน” จัดทำโดย ศูนย์อเมริกันเพื่อแรงงานนานาชาติ และหนังสือ “ไดอารี่แรงงาน ปี 2546” จัดทำโดย มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท(FES)



อ้างอิง  http://www.thailabordatabase.org/th/union.php?c=about

วิวัฒนาการของระบบแรงงานสัมพันธ์ในประเทศอังกฤษ

วิวัฒนาการของระบบแรงงานสัมพันธ์ในประเทศอังกฤษ


วิวัฒนาการของระบบแรงงานสัมพันธ์
                ในการผลิตสมัยดั้งเดิมของมนุษย์นั้นเป็นการผลิตในภาคเกษตรกรรมและมีลักษณะการผลิตเพื่อบริโภคมากกว่าที่จะผลิตเพื่อขายจึงมักเป็นการทำงานด้วยตัวเองหรืออาศัยแรงงานในครอบครัว ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวขึ้นเกิดมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันอย่างกว้างขวางทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศและระหว่างประเทศการผลิตจึงเปลี่ยนไปเป็นการผลิตเพื่อการค้าหรือผลิตเพื่อขาย ซึ่งจำเป็นจะต้องนำแรงงานจากภายนอกเข้ามาช่วยในการผลิต แรงงานที่นำเข้ามานี้อาจเป็นมนุษย์ที่ด้อยความเจริญกว่าที่ถูกจับกุมมาใช้แรงงานแบบทาส โยถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งหรือชนชาติที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามหรือผู้ที่ยากจนยอมขายตัวลงเป็นทาส สภาพดังกล่าวได้ก่อให้เกิดระบบทาสขึ้นผู้ที่เป็นทาสนั้นจะถูใช้แรงงานอย่างเต็มที่สิ่งตอบแทนที่ได้รับก็เพียงที่พัก เสื้อผ้าและอาหารเพียงให้อยู่รอดเท่านั้น สภาพการทำงานจะขึ้นอยู่กับความพอใจของนายซึ่งระบบทาสนี้มีใช้มากในสหรัฐอเมริกาในสมัยเริ่มแรกแต่โดยที่ระบบนี้เป็นระบบที่ผิดหลักมนุษยธรรมในที่สุดระบบนี้ก็ถูกยกเลิกไป
                ในสังคมศักดินาของประเทศเกษตรกรรมนั้นทรัพย์สินที่สำคัญคือที่ดินผู้เป็นขุนนางจะเป็นเจ้าของที่ดินและจัดสรรที่ดินให้คนงานที่อยู่ภายใต้การปกครองของตนทำการเกษตรให้  คนงานจะได้รับส่วนแบ่งของผลผลิตตามเกณฑ์ที่เจ้าของที่ดินกำหนด ระบบนี้เรียกว่าระบบลูกนาหรือระบบข้าแผ่นดิน เมื่อเศรษฐกิจเจริญขึ้นระบบนี้เสื่อมสลายไปเช่นกันโดยเปลี่ยนเป็นการให้ชาวนาเป็นเจ้าของที่ดินเอง และมีระบบการจ้างงานมาแทน
                ระบบการจ้างานในระยะแรกนั้นยังติดความเชื่อแบบระบบทาสและระบบลูกนา ที่ว่านายจ้างเป็นนายที่มีอำนาจบังคับบัญชาอย่างเต็มที่อาจลงโทษได้แม้เฆี่ยนตี โดยลูกจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเดียวและผลตอบแทนในการทำงานจะได้รับตามที่นายจ้างหยิบยื่นให้เท่านั้น แนวความคิดนี้ยังมีอยู่มากในประเทศที่กำลังพัฒนาโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรืออุตสาหกรรมในครอบครัว
                เมื่อระบบอุตสาหกรรมขยายตัวมีการจ้างงานในแต่ละกิจการมากขึ้นประกอบกับแนวความคิดเสรีนิยม เปิดโอกาสให้นายจ้างแสวงหากำไรสูงสุดโดยรับบาลไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง นายจ้างได้พยายามสร้างกำไรให้กับตัวเองโดยพยายามกดค่าจ้างแรงงานและไม่ปรับปรุงสภาพการทำงาน ทำให้ลูกจ้างได้ทำงานในสถานที่มีฝุ่นมาก ร้อนอบอ้าว เต็มไปด้วยหมอกควัน มีชั่วโมงการทำงานยาวนาน ค่าจ้างต่ำไม่มีสวัสดิการใดๆในที่สุดลูกจ้างไม่อาจทนกับสภาพเช่นนี้ต่อไปได้จึงพยายามดิ้นรนต่อสู้และเกิดแนวความคิดเรื่องชนชั้น

แรงงานแนวคิดนี้ได้เน้นการรวมตัวของผู้ใช้แรงงานเพื่อขจัดการเสียเปรียบและสร้างอำนาจต่อรองกับนายจ้างเพื่อค่าจ้างที่สูงขึ้นและสภาพการทำงานที่ดี
                แนวความคิดของฝ่ายลูกจ้างดังกล่าวได้วิวัฒนาการมาเป็นการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานและองค์การลูกจ้างในรูปแบบอื่นเพื่อสร้างอำนาจต่อรองของฝ่ายลูกจ้างอย่างถาวรทำให้นายจ้างต้อง  ให้การยอมรับและยินยอมเข้าร่วมการปรึกษาหารือหรือการเจรจาต่อรองโดยฝ่ายนายจ้างเองก็มีการรวมตัวเป็นสมาคมนายจ้างและองค์กรนายจ้างในรูปแบบอื่นๆเช่นกันเกิดเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์การลูกจ้างและองค์การนายจ้างในลักษณะทวิภาคีเพิ่มมากขึ้นซึ่งได้มีการพัฒนามาจนถึงช่วงปัจจุบัน
                ระบบแรงงานสัมพันธ์ในสหราชอาณาจักรมีความผูกพันใกล้ชิดกับระบบการเมือง และมีพัฒนาการมาจากประวัติความเป็นมาของตนโดยเฉพาะจึงแตกต่างจากระบบแรงงานสัมพันธ์ในประเทศอื่นๆซึ่งนำเข้าแนวคิดมาจากประเทศอื่นและเมื่อสืบสาวราวเรื่องกันแล้วจึงพบว่าแนวคิดเหล่านั้นมีที่มาจากบริษัทข้ามชาติสัญชาติอังกฤษที่เข้าไปทำธุรกิจในประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างไรก็ตามระบบแรงงานสัมพันธ์ในสหราชอาณาจักรในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายถึงแม้ว่าสถาบันหลักๆและกรอบกฎหมายต่างๆที่ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติในระบบแรงงานสัมพันธ์ในสหราชอาณาจักรจะยังคงต่อเนื่องมาจากในอดีตก็ตาม
                สหภาพแรงงานในสหราชอาณาจักร เริ่มถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งในขณะนั้นเงื่อนไขต่างๆในการทำงานของคนงานอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างแย่ อย่างไรก็ตามในระยะแรก สหภาพแรงงานยังไม่เป็นที่ยอมรับของรัฐสภาและฝ่ายนายจ้าง สหภาพแรงงานที่เกิดขึ้นในยุคต้นในระบบแรงงานสัมพันธ์ของอังกฤษค่อนข้างมีความหลากหลายกล่าวคือ มีตั้งแต่สหภาพแรงงานของช่างฝีมือ(Craft unions) ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานของกลุ่มช่างฝีมือมีขนาดเล็กไปจนถึงสหภาพแรงงานขนาดใหญ่ในบริษัทใหญ่ๆสหภาพแรงงานในสหราชอาณาจักรค่อยๆ เคลื่อนไหวสร้างความเข้มแข็งขึ้นตามลำดับจนในที่สุดก็ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและนายจ้างส่วนใหญ่ ยุคที่สหภาพแรงงานของสหราชอาณาจักรมีความเฟื่องฟูมากที่สุดอยู่ในช่วงทศวรรษ 1970 s ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้นำสหภาพแรงงานมีอิทธิพลสูงมากในกากรเจรจาต่อรองร่วมกันกับฝ่ายนายจ้าง เนื่องจากสหภาพแรงงานมีสมาชิกรวมกันทั้งสิ้นเป็นจำนวนมากถึง 13.2 ล้านคน นอกจากนี้ผู้นำสหภาพแรงงานยังมีอิทธิพลต่อการตัดสันใจของฝ่ายนิติบัญญัติอีกด้วย
สำหรับแนวความคิดด้านแรงงานสัมพันธ์ของอังกฤษ  Adam Smith  ปลายศตวรรษที่ 18 นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษเจ้าของทฤษฎีการค้าเสรี ได้มีแนวคิดว่าในระบบการค้าเสรีนั้น นายจ้างจะพยายามจ่ายค่าจ้างให้ต่ำลงเท่าที่จะต่ำได้ ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างมีการรวมตัวกันเป็นสมาคมคนงาน เพื่อมุ่งคุ้มครองค่าจ้าง
ที่ได้รับอยู่ให้คงไว้เพื่อเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจของคนงาน และหากการดำเนินการไม่เป็นผล ลูกจ้างอาจนำการนัดหยุดงานมาใช้ ซึ่งถ้าลูกจ้างดำเนินการอย่างไม่รอบครอบและขาดเหตุผลก็อาจเผชิญกับการตอบโต้จากนายจ้างอย่างเฉียบขาด จนเกิดผลร้ายต่อลูกจ้างเองได้  Sidney and Beatrice Webb เป็นการสร้างระบบประชาธิปไตยทางอุตสาหกรรมโดยเห็นว่าการต่อสู้ทางชนชั้นไม่ใช่วิธีทางแรงงานสัมพันธ์ที่ดีไม่จำเป็นต้องทำลายล้างระบบนายทุนแต่ไม่ควรให้นายจ้างมีอำนาจในการบริหารงานโดยเด็ดขาดเพียงฝ่ายเดียว
               

การปกครองสมัยสุโขทัย

 การปกครองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราชมีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็นและภูเขาพนมดงรักทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา พระองค์อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ แห่งกรุงศรีอยุธยาในปี  พ.ศ 1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย
 แบ่งออกเป็น ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
 1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น   เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย
ซึ่งมีลักษณะสำคัญ ประการ คือ
             1. รูปแบบราชาธิปไตย  หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำราจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
                  2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่าพ่อขุน
             3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
            4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
  
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย   การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษะตริย์ไม่มั้นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์
การปกครองสมัยสุโขทัย
        การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น ลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น
 การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น
1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว  เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงส์ได้รับแการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
แหล่งอ้างอิง: 
http://www.dopa.go.th/history/suk.htm

ผลสะท้อนของสัญญาประชาคม

                     ผลสะท้อนของสัญญาประชาคม
             
                ในประวัติความคิดทางการเมืองอิทธิพลของรุสโซดูจะมีมากกว่าและลึกกว่ามองเตสกิเออในแง่ของการประทับความรู้สึกนึกคิดของคนร่วมสมัยและผลสะท้อนในศตวรรษต่อมาความสำเร็จของทฤษฎีต่างๆ   ของรุสโซเกิดขึ้นก็เนื่องจากว่าสังคมยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมฝรั่งเศสในขณะนั้นกำลังต้องการอยู่  ก่อนหน้าการปฏิวัติใหญ่ในปี ค.ศ.1789  บรรดาผู้คนแก่ทั้งหลายต่างก็หยิบยก  สัญญาประชาคม   ขึ้นมาถกเถียงกัน   กล่าวได้ว่าการปฏิวัติ 1789 ได้รับอิทธิพลทั้งโดยทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความคิดมูลฐานสำคัญๆแห่ง  สัญญาประชาคม  ซึ่งได้เข้ามาแทรกซึมอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของมหาชนผู้มีการศึกษาและแพร่ขยายออกไป    ความคิดมูลฐานสำคัญๆ  ดังกล่าวนี้ได้แก่  ความคิดเกี่ยวกับเอกภาพของรัฐ   เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนร่วมที่จะต้องได้รับการเคารพ   เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน  เกี่ยวกับกฎหมายซึ่งเป็นการแสดงออกของเจนจำนงทั่วไป   เกี่ยวกับการขจัดออกไปซึ่ง  สังคมย่อย  อันได้แก้กลุ่มคระต่างๆ  สมาคมพรรคการเมือง  เกี่ยวกับความไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารเกี่ยวกับระบอบเผด็จการเพื่อความปลอดภัยสาธารณะและเกี่ยวกับศาสนาของราษฎร
       ความคิดของรุสโซเหล่านี้มีอิทธิพลต้อผู้ร่างรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส  ค.ศ.1789 มาก  เช่นเดียวกับอิทธิพลของความคิดของมองเตสกิเออและของซิเออแยส  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังปี  ค.ศ.1792  ความคิดเหล่านี้ได้เข้าครบงำกลุ่มการเมืองสำคัญๆ   ของฝรั่งเศสอันได้แก่กลุ่มมองตานญ์  และโรเบสปีแอร์  รัฐธรรมนูญ  ค.ศ.1793  ของฝรั่งเศสก็คือผลิตผลโดยตรงของความคิดของรุสโซ  ในปัจจุบันระบอบประชาธิปไตยตะวันตกก็ยังเป็นระบอบที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดของรุสโซอยู่หลายประการ  ได้แก่มนุษย์ทุกคนเกิดมาอิสระและยังคงเป็นอิสระและเสมอภาคกันในกฎหมาย  ความคิดที่ว่าจุดมุ่งหมายของรัฐก็คือการธำรงรักษาไว้ซึ่งสิทธิธรรมชาติของมนุษย์  ความคิดที่ว่าบุคคลเมื่อเข้ามาร่วมตัวกันอยู่เป็นรัฐก็ไม่ควรอยู่ใต้อำนาจใครเลย  นอกจากอำนาจของมวลพวกเขากันเอง   และประการสุดท้าย  ความคิดที่ว่ากฎหมายคือการแสดงออกของเจนจำนงทั่วไป  ราษฎรทุกคนมีสิทธิเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย

อ้างอิง  www.bloggang.com/viewdiary.php?id=plan-kkw...03...7

พื้นฐานทางความคิด ของ จอห์น ล็อค

      พื้นฐานทางความคิด ของ  จอห์น  ล็อค
               จอห์น  ล็อด  เป็นนักปรัชญาที่มีความเห็นเป็นกลางๆ  หลักการในการหาความรู้ของเขาไม่ได้เคร่งครัดอยู่กับประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสหรือเหตุผลอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ  เขาเป็นนักประจักษ์นิยมหรือประสบการณ์นิยม   ในแง่ที่ว่าเขาคิดว่าเนื้อหาของความรู้ได้มาโดยอาศัย  ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส  และการไตร่ตรองด้วยเหตุผล   เขาจึงไม่ใช่นักประจักษนิยมแบบเคร่งครัด  ที่ยึดหลักว่าความรู้ได้มาด้วยประสาทสัมผัสเท่านั้นส่วนหนึ่งเขาคล้อยตามพวกเหตุผลนิยม  คือเขาคิดว่า  ความเห็นหรือความเชื่อต่างๆ นั้น  ต้องนำมาวิเคราะห์ด้วยเหตุผลเสียก่อน  และคิดว่าไม่ควรใช้อารมณ์และความรู้สึกเป็นพื้นฐานในการตัดสินด้วยเหตุผล   นั่นคือ  เมื่อต้องใช้เหตุผลต้องเป็นการใช้เหตุผลอย่างบริสุทธิ์  ยิ่งกว่านั้น  ล็อดไม่ได้ปฏิเสธความจริงทางจิตหรือวิญญาณ  กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ  ตลอดจนการเปิดเผยของพระเจ้า
              ล็อคได้รับแรงกระตุ้นอย่างมากจากการอ่านงานของเดส์การ์ตส์  โดยเฉพาะเรื่องการใช้เหตุผลล็อดพยายามวอเคราะห์ว่าเหตุผลนั้นเชื่อถือได้เพียงใด  ทำอย่างไรจึงเรียกว่ามีเหตุผล  เขาศึกษาเรื่องนี้อยู่นานจึงได้เขียนหนังสือเรื่อง  An  Essay  Concerning  human  Understanding   ซึงได้วิจารณ์เรื่องความคิดติดตัวมาแต่กำเนิด  สืบสาวหาต้นกำเนิด  และจำแนกประเภทของความคิด  ตลอดจนวิเคราะห์ความคิดของมนุษย์   อาจเป็นเพราะการเขียนหนังสือเล่มนี้ใช้เวลานานและไม่ได้เขียนอย่างต่อเนื่อง  จึงทำให้ความคิดของล็อคไม่คงเส้นคงวา
                ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้
      ล็อคพยายามสืบสาวหาต้นกำเนิดของความรู้  หาความแน่นนอนและขอบเขตของความรู้   ล็อคคิดว่าถ้าเขาสามารถอธิบายได้  ความรู้ประกอบด้วยอะไรบ้าง  เราได้ความรู้มาอย่างไร  ก็จะทำให้เขากำหนดขอบเขตความแน่นอนของความรู้ได้
      ล็อคได้ข้อสรุปว่า  ความรู้นั้นอยู่ที่ความคิด  คำว่าความคิดในที่นี้ความหมายต่างกับ  ความคิด  หรือแบบของเพลโตหมายถึงความคิดที่เกิดขึ้นจากวัตถุที่เรามีประสบการณ์  เช่น  ขณะเรามองดูต้นไม้ความคิดเกี่ยวกับต้นไม้หรือภาพของต้นไม้ก็เกิดขึ้นในจิตของเรา  สิ่งที่เกิดขึ้นในจิต  เช่นนี้แหละที่ล็อคเรียกว่า  ideas   และต้นกำเนิดของความคิดลักษณะนี้คือประสบการณ์  ล็อคอธิบายว่าประสบการณ์ได้มาสองทางคือ  ทางผัสสะ  กับการไตร่ตรอง  นั่นหมายความว่าความคิดทุอความคิดเกิดจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสที่เรามีต่อโลก  และเกิดจากการไตร่ตรองทาง
ความคิดอันเกิดจากประสาทสัมผัสเหล่านั้น  การไตร่ตรองนี้ถือว่าเป็นประสบการณ์ภายใน  สิ่งที่
ล็อดเขาเน้นก็คือ  เขาถือว่า  เราไม่สามารถมีประสบการณ์เกี่ยวกับการไตร่ตรอง   จนกว่าเราจะได้ประสบการณ์ทางทางประสาทสัมผัส    หมายความว่าจิตของเราแต่ละคนในตอนเริ่มต้นนั้นว่างเปล่า  เหมือนกระดาษขาวประสบการณืเท่านั้นที่จะบันทึกความรู้ลงไปบนจิต นี้แสดงว่าล็อคได้ปฎิเสธทฤฎีความคิดติดตัว

อ้างอิง  www.bloggang.com/viewdiary.php?id=plan-kkw...03...7

การปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

              การปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
            
                 การปกครองในสมัยอยุธยาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยอยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เหมือนกับสมัยสุโขทัย แต่ต่อมา แนวความคิดในการปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปลักษณะทางการเมืองการปกครองสมัยอาณาจักรอยุธยาตอนต้น มีการปกครองแบบเดียวกับสุโขทัย แต่หลังจากที่ไทยสามารถตีนครธมของขอมได้ใน พ.ศ.1974 และกวาดต้อนขุนนางและประชาชนชาวขอม ที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของอินเดียเข้ามาในอยุธยาเป็นจำนวนมาก ขุนนางและประชาชนเหล่านี้ ได้เอาแนวความคิดในการปกครองของเขมร ที่ได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากลัทธิพราหมณ์มาใช้ในกรุงศรีอยุธยา คือ แบบเทวราชา หรือ เทวสิทธิ ทำให้แนวความคิดเกี่ยวกับ เรื่องเทวราชาเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น และทำให้สถาบันการปกครองของไทยเปลี่ยนแปลงไปจากการปกครองแบบ "พ่อ" กับ "ลูก" ในสมัยสุโขทัย มาเป็นการปกครองแบบ "นาย" กับ "บ่าว" ทั้งนี้เพราะการปกครองแบบเทวสิทธิ์ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนเจ้าชีวิตเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด สามารถกำหนดชะตาชีวิตของผู้อยู่ใต้การปกครองได้ และถือว่าอำนาจในการปกครองนั้น พระมหากษัตริย์ทรงได้รับจากสวรรค์ เป็นเทวโองการ การกระทำของพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นความต้องการของพระเจ้า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง หรือ สมมติเทพ เป็น นายของประชาชน และประชาชนเป็นบ่าว ของพระมหากษัตริย์ที่จะขัดขืนมิได้เด็ดขาด พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าชีวิตของประชาชนทุกคน สถาบันกษัตริย์ในสมัยอยุธยาจึงห่างเหินจากประชาชนเป็นอันมาก ซึ่งอาจเรียกการปกครองแบบนี้ว่า "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์" คือ พระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดสมบูรณ์แต่ผู้เดียว
               พระเจ้าอู่ทองได้ทรงจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบขอม มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อำนวยการปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง (เวียง) ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการเกี่ยวกับกิจการทั้ง 4 คือ
         1.1  ขุนเมือง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนัน
ในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ
          1.2  ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น
พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่าย
          1.3  ขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าใน
พระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาล
ซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง
           1.4  ขุนนา มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าว
ขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็น
ผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา
ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ

อ้างอิง  www.thaigoodview.com/node/18504