วิวัฒนาการของระบบแรงงานสัมพันธ์ในประเทศอังกฤษ
วิวัฒนาการของระบบแรงงานสัมพันธ์
ในการผลิตสมัยดั้งเดิมของมนุษย์นั้นเป็นการผลิตในภาคเกษตรกรรมและมีลักษณะการผลิตเพื่อบริโภคมากกว่าที่จะผลิตเพื่อขายจึงมักเป็นการทำงานด้วยตัวเองหรืออาศัยแรงงานในครอบครัว ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวขึ้นเกิดมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันอย่างกว้างขวางทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศและระหว่างประเทศการผลิตจึงเปลี่ยนไปเป็นการผลิตเพื่อการค้าหรือผลิตเพื่อขาย ซึ่งจำเป็นจะต้องนำแรงงานจากภายนอกเข้ามาช่วยในการผลิต แรงงานที่นำเข้ามานี้อาจเป็นมนุษย์ที่ด้อยความเจริญกว่าที่ถูกจับกุมมาใช้แรงงานแบบทาส โยถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งหรือชนชาติที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามหรือผู้ที่ยากจนยอมขายตัวลงเป็นทาส สภาพดังกล่าวได้ก่อให้เกิดระบบทาสขึ้นผู้ที่เป็นทาสนั้นจะถูใช้แรงงานอย่างเต็มที่สิ่งตอบแทนที่ได้รับก็เพียงที่พัก เสื้อผ้าและอาหารเพียงให้อยู่รอดเท่านั้น สภาพการทำงานจะขึ้นอยู่กับความพอใจของนายซึ่งระบบทาสนี้มีใช้มากในสหรัฐอเมริกาในสมัยเริ่มแรกแต่โดยที่ระบบนี้เป็นระบบที่ผิดหลักมนุษยธรรมในที่สุดระบบนี้ก็ถูกยกเลิกไป
ในสังคมศักดินาของประเทศเกษตรกรรมนั้นทรัพย์สินที่สำคัญคือที่ดินผู้เป็นขุนนางจะเป็นเจ้าของที่ดินและจัดสรรที่ดินให้คนงานที่อยู่ภายใต้การปกครองของตนทำการเกษตรให้ คนงานจะได้รับส่วนแบ่งของผลผลิตตามเกณฑ์ที่เจ้าของที่ดินกำหนด ระบบนี้เรียกว่าระบบลูกนาหรือระบบข้าแผ่นดิน เมื่อเศรษฐกิจเจริญขึ้นระบบนี้เสื่อมสลายไปเช่นกันโดยเปลี่ยนเป็นการให้ชาวนาเป็นเจ้าของที่ดินเอง และมีระบบการจ้างงานมาแทน
ระบบการจ้างานในระยะแรกนั้นยังติดความเชื่อแบบระบบทาสและระบบลูกนา ที่ว่านายจ้างเป็นนายที่มีอำนาจบังคับบัญชาอย่างเต็มที่อาจลงโทษได้แม้เฆี่ยนตี โดยลูกจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเดียวและผลตอบแทนในการทำงานจะได้รับตามที่นายจ้างหยิบยื่นให้เท่านั้น แนวความคิดนี้ยังมีอยู่มากในประเทศที่กำลังพัฒนาโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรืออุตสาหกรรมในครอบครัว
เมื่อระบบอุตสาหกรรมขยายตัวมีการจ้างงานในแต่ละกิจการมากขึ้นประกอบกับแนวความคิดเสรีนิยม เปิดโอกาสให้นายจ้างแสวงหากำไรสูงสุดโดยรับบาลไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง นายจ้างได้พยายามสร้างกำไรให้กับตัวเองโดยพยายามกดค่าจ้างแรงงานและไม่ปรับปรุงสภาพการทำงาน ทำให้ลูกจ้างได้ทำงานในสถานที่มีฝุ่นมาก ร้อนอบอ้าว เต็มไปด้วยหมอกควัน มีชั่วโมงการทำงานยาวนาน ค่าจ้างต่ำไม่มีสวัสดิการใดๆในที่สุดลูกจ้างไม่อาจทนกับสภาพเช่นนี้ต่อไปได้จึงพยายามดิ้นรนต่อสู้และเกิดแนวความคิดเรื่องชนชั้น
แรงงานแนวคิดนี้ได้เน้นการรวมตัวของผู้ใช้แรงงานเพื่อขจัดการเสียเปรียบและสร้างอำนาจต่อรองกับนายจ้างเพื่อค่าจ้างที่สูงขึ้นและสภาพการทำงานที่ดี
แนวความคิดของฝ่ายลูกจ้างดังกล่าวได้วิวัฒนาการมาเป็นการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานและองค์การลูกจ้างในรูปแบบอื่นเพื่อสร้างอำนาจต่อรองของฝ่ายลูกจ้างอย่างถาวรทำให้นายจ้างต้อง ให้การยอมรับและยินยอมเข้าร่วมการปรึกษาหารือหรือการเจรจาต่อรองโดยฝ่ายนายจ้างเองก็มีการรวมตัวเป็นสมาคมนายจ้างและองค์กรนายจ้างในรูปแบบอื่นๆเช่นกันเกิดเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์การลูกจ้างและองค์การนายจ้างในลักษณะทวิภาคีเพิ่มมากขึ้นซึ่งได้มีการพัฒนามาจนถึงช่วงปัจจุบัน
ระบบแรงงานสัมพันธ์ในสหราชอาณาจักรมีความผูกพันใกล้ชิดกับระบบการเมือง และมีพัฒนาการมาจากประวัติความเป็นมาของตนโดยเฉพาะจึงแตกต่างจากระบบแรงงานสัมพันธ์ในประเทศอื่นๆซึ่งนำเข้าแนวคิดมาจากประเทศอื่นและเมื่อสืบสาวราวเรื่องกันแล้วจึงพบว่าแนวคิดเหล่านั้นมีที่มาจากบริษัทข้ามชาติสัญชาติอังกฤษที่เข้าไปทำธุรกิจในประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างไรก็ตามระบบแรงงานสัมพันธ์ในสหราชอาณาจักรในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายถึงแม้ว่าสถาบันหลักๆและกรอบกฎหมายต่างๆที่ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติในระบบแรงงานสัมพันธ์ในสหราชอาณาจักรจะยังคงต่อเนื่องมาจากในอดีตก็ตาม
สหภาพแรงงานในสหราชอาณาจักร เริ่มถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งในขณะนั้นเงื่อนไขต่างๆในการทำงานของคนงานอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างแย่ อย่างไรก็ตามในระยะแรก สหภาพแรงงานยังไม่เป็นที่ยอมรับของรัฐสภาและฝ่ายนายจ้าง สหภาพแรงงานที่เกิดขึ้นในยุคต้นในระบบแรงงานสัมพันธ์ของอังกฤษค่อนข้างมีความหลากหลายกล่าวคือ มีตั้งแต่สหภาพแรงงานของช่างฝีมือ(Craft unions) ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานของกลุ่มช่างฝีมือมีขนาดเล็กไปจนถึงสหภาพแรงงานขนาดใหญ่ในบริษัทใหญ่ๆสหภาพแรงงานในสหราชอาณาจักรค่อยๆ เคลื่อนไหวสร้างความเข้มแข็งขึ้นตามลำดับจนในที่สุดก็ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและนายจ้างส่วนใหญ่ ยุคที่สหภาพแรงงานของสหราชอาณาจักรมีความเฟื่องฟูมากที่สุดอยู่ในช่วงทศวรรษ 1970 s ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้นำสหภาพแรงงานมีอิทธิพลสูงมากในกากรเจรจาต่อรองร่วมกันกับฝ่ายนายจ้าง เนื่องจากสหภาพแรงงานมีสมาชิกรวมกันทั้งสิ้นเป็นจำนวนมากถึง 13.2 ล้านคน นอกจากนี้ผู้นำสหภาพแรงงานยังมีอิทธิพลต่อการตัดสันใจของฝ่ายนิติบัญญัติอีกด้วย
สำหรับแนวความคิดด้านแรงงานสัมพันธ์ของอังกฤษ Adam Smith ปลายศตวรรษที่ 18 นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษเจ้าของทฤษฎีการค้าเสรี ได้มีแนวคิดว่าในระบบการค้าเสรีนั้น นายจ้างจะพยายามจ่ายค่าจ้างให้ต่ำลงเท่าที่จะต่ำได้ ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างมีการรวมตัวกันเป็นสมาคมคนงาน เพื่อมุ่งคุ้มครองค่าจ้าง
ที่ได้รับอยู่ให้คงไว้เพื่อเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจของคนงาน และหากการดำเนินการไม่เป็นผล ลูกจ้างอาจนำการนัดหยุดงานมาใช้ ซึ่งถ้าลูกจ้างดำเนินการอย่างไม่รอบครอบและขาดเหตุผลก็อาจเผชิญกับการตอบโต้จากนายจ้างอย่างเฉียบขาด จนเกิดผลร้ายต่อลูกจ้างเองได้ Sidney and Beatrice Webb เป็นการสร้างระบบประชาธิปไตยทางอุตสาหกรรมโดยเห็นว่าการต่อสู้ทางชนชั้นไม่ใช่วิธีทางแรงงานสัมพันธ์ที่ดีไม่จำเป็นต้องทำลายล้างระบบนายทุนแต่ไม่ควรให้นายจ้างมีอำนาจในการบริหารงานโดยเด็ดขาดเพียงฝ่ายเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น