การปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
การปกครองในสมัยอยุธยาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยอยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เหมือนกับสมัยสุโขทัย แต่ต่อมา แนวความคิดในการปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปลักษณะทางการเมืองการปกครองสมัยอาณาจักรอยุธยาตอนต้น มีการปกครองแบบเดียวกับสุโขทัย แต่หลังจากที่ไทยสามารถตีนครธมของขอมได้ใน พ.ศ.1974 และกวาดต้อนขุนนางและประชาชนชาวขอม ที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของอินเดียเข้ามาในอยุธยาเป็นจำนวนมาก ขุนนางและประชาชนเหล่านี้ ได้เอาแนวความคิดในการปกครองของเขมร ที่ได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากลัทธิพราหมณ์มาใช้ในกรุงศรีอยุธยา คือ แบบเทวราชา หรือ เทวสิทธิ ทำให้แนวความคิดเกี่ยวกับ เรื่องเทวราชาเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น และทำให้สถาบันการปกครองของไทยเปลี่ยนแปลงไปจากการปกครองแบบ "พ่อ" กับ "ลูก" ในสมัยสุโขทัย มาเป็นการปกครองแบบ "นาย" กับ "บ่าว" ทั้งนี้เพราะการปกครองแบบเทวสิทธิ์ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนเจ้าชีวิตเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด สามารถกำหนดชะตาชีวิตของผู้อยู่ใต้การปกครองได้ และถือว่าอำนาจในการปกครองนั้น พระมหากษัตริย์ทรงได้รับจากสวรรค์ เป็นเทวโองการ การกระทำของพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นความต้องการของพระเจ้า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง หรือ สมมติเทพ เป็น นายของประชาชน และประชาชนเป็นบ่าว ของพระมหากษัตริย์ที่จะขัดขืนมิได้เด็ดขาด พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าชีวิตของประชาชนทุกคน สถาบันกษัตริย์ในสมัยอยุธยาจึงห่างเหินจากประชาชนเป็นอันมาก ซึ่งอาจเรียกการปกครองแบบนี้ว่า "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์" คือ พระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดสมบูรณ์แต่ผู้เดียว
พระเจ้าอู่ทองได้ทรงจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบขอม มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อำนวยการปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง (เวียง) ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการเกี่ยวกับกิจการทั้ง 4 คือ
1.1 ขุนเมือง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนัน
ในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ
1.1 ขุนเมือง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนัน
ในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ
1.2 ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น
พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่าย
พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่าย
1.3 ขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าใน
พระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาล
ซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง
พระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาล
ซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง
1.4 ขุนนา มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าว
ขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็น
ผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา
ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ
ขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็น
ผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา
ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ
อ้างอิง www.thaigoodview.com/node/18504
วุสวัยเว่อร์วัดววา
ตอบลบ