วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

พื้นฐานทางความคิด ของ จอห์น ล็อค

      พื้นฐานทางความคิด ของ  จอห์น  ล็อค
               จอห์น  ล็อด  เป็นนักปรัชญาที่มีความเห็นเป็นกลางๆ  หลักการในการหาความรู้ของเขาไม่ได้เคร่งครัดอยู่กับประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสหรือเหตุผลอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ  เขาเป็นนักประจักษ์นิยมหรือประสบการณ์นิยม   ในแง่ที่ว่าเขาคิดว่าเนื้อหาของความรู้ได้มาโดยอาศัย  ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส  และการไตร่ตรองด้วยเหตุผล   เขาจึงไม่ใช่นักประจักษนิยมแบบเคร่งครัด  ที่ยึดหลักว่าความรู้ได้มาด้วยประสาทสัมผัสเท่านั้นส่วนหนึ่งเขาคล้อยตามพวกเหตุผลนิยม  คือเขาคิดว่า  ความเห็นหรือความเชื่อต่างๆ นั้น  ต้องนำมาวิเคราะห์ด้วยเหตุผลเสียก่อน  และคิดว่าไม่ควรใช้อารมณ์และความรู้สึกเป็นพื้นฐานในการตัดสินด้วยเหตุผล   นั่นคือ  เมื่อต้องใช้เหตุผลต้องเป็นการใช้เหตุผลอย่างบริสุทธิ์  ยิ่งกว่านั้น  ล็อดไม่ได้ปฏิเสธความจริงทางจิตหรือวิญญาณ  กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ  ตลอดจนการเปิดเผยของพระเจ้า
              ล็อคได้รับแรงกระตุ้นอย่างมากจากการอ่านงานของเดส์การ์ตส์  โดยเฉพาะเรื่องการใช้เหตุผลล็อดพยายามวอเคราะห์ว่าเหตุผลนั้นเชื่อถือได้เพียงใด  ทำอย่างไรจึงเรียกว่ามีเหตุผล  เขาศึกษาเรื่องนี้อยู่นานจึงได้เขียนหนังสือเรื่อง  An  Essay  Concerning  human  Understanding   ซึงได้วิจารณ์เรื่องความคิดติดตัวมาแต่กำเนิด  สืบสาวหาต้นกำเนิด  และจำแนกประเภทของความคิด  ตลอดจนวิเคราะห์ความคิดของมนุษย์   อาจเป็นเพราะการเขียนหนังสือเล่มนี้ใช้เวลานานและไม่ได้เขียนอย่างต่อเนื่อง  จึงทำให้ความคิดของล็อคไม่คงเส้นคงวา
                ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้
      ล็อคพยายามสืบสาวหาต้นกำเนิดของความรู้  หาความแน่นนอนและขอบเขตของความรู้   ล็อคคิดว่าถ้าเขาสามารถอธิบายได้  ความรู้ประกอบด้วยอะไรบ้าง  เราได้ความรู้มาอย่างไร  ก็จะทำให้เขากำหนดขอบเขตความแน่นอนของความรู้ได้
      ล็อคได้ข้อสรุปว่า  ความรู้นั้นอยู่ที่ความคิด  คำว่าความคิดในที่นี้ความหมายต่างกับ  ความคิด  หรือแบบของเพลโตหมายถึงความคิดที่เกิดขึ้นจากวัตถุที่เรามีประสบการณ์  เช่น  ขณะเรามองดูต้นไม้ความคิดเกี่ยวกับต้นไม้หรือภาพของต้นไม้ก็เกิดขึ้นในจิตของเรา  สิ่งที่เกิดขึ้นในจิต  เช่นนี้แหละที่ล็อคเรียกว่า  ideas   และต้นกำเนิดของความคิดลักษณะนี้คือประสบการณ์  ล็อคอธิบายว่าประสบการณ์ได้มาสองทางคือ  ทางผัสสะ  กับการไตร่ตรอง  นั่นหมายความว่าความคิดทุอความคิดเกิดจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสที่เรามีต่อโลก  และเกิดจากการไตร่ตรองทาง
ความคิดอันเกิดจากประสาทสัมผัสเหล่านั้น  การไตร่ตรองนี้ถือว่าเป็นประสบการณ์ภายใน  สิ่งที่
ล็อดเขาเน้นก็คือ  เขาถือว่า  เราไม่สามารถมีประสบการณ์เกี่ยวกับการไตร่ตรอง   จนกว่าเราจะได้ประสบการณ์ทางทางประสาทสัมผัส    หมายความว่าจิตของเราแต่ละคนในตอนเริ่มต้นนั้นว่างเปล่า  เหมือนกระดาษขาวประสบการณืเท่านั้นที่จะบันทึกความรู้ลงไปบนจิต นี้แสดงว่าล็อคได้ปฎิเสธทฤฎีความคิดติดตัว

อ้างอิง  www.bloggang.com/viewdiary.php?id=plan-kkw...03...7

1 ความคิดเห็น: